Blog

สมรสเท่าเทียมผ่านแล้ว LGBTQ+ ควรมีแผนการเงินอย่างไร

พ.ร.บ สมรสเท่าเทียมที่ผ่านแล้วถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับชุมชน LGBTQ+ เพื่อให้ได้รับสิทธิและสวัสดิการที่เท่าเทียมกับคู่สมรสชายหญิงทั่วไป ในโอกาส Pride Month นี้ เราขอแนะนำการวางแผนการเงินสำหรับคู่รัก LGBTQ+ เพื่อให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม

การวางแผนภาษี 💸

  • คู่สมรส LGBTQ+ ที่จดทะเบียนสมรสจะได้ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมคนละ 60,000 บาท
  • คู่สมรส LGBTQ+ ที่รับเลี้ยงบุตรบุญธรรมจะได้ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม 30,000 บาทต่อบุตรบุญธรรม 1 คน (สูงสุด 3 คน)
  • ควรวางแผนลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม เช่น การบริจาค การซื้อประกันภัย และการซื้อกองทุน RMF

การวางแผนซื้อประกัน 🏥

  • คู่สมรส LGBTQ+ สามารถทำประกันภัยให้คู่รักของตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน และสามารถระบุผู้รับผลประโยชน์ได้
  • คู่สมรส LGBTQ+ จะได้รับสิทธิในการยินยอมการรักษาคู่สมรสของตน

การวางแผนที่อยู่อาศัย 🏠

  • คู่สมรส LGBTQ+ สามารถยื่นกู้ร่วมกันเพื่อซื้อบ้านหรือคอนโดได้ โดยใช้หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ เช่น ธุรกรรมการเงินร่วมกัน
  • คู่สมรส LGBTQ+ ที่กู้ร่วมซื้อบ้านหลังแรกจะแบ่งค่าลดหย่อนให้กับผู้ยื่นกู้ร่วมเท่ากัน รวมกันสองคนไม่เกิน 100,000 บาท

การลงทุนและการออม 💰

  • คู่สมรส LGBTQ+ สามารถเปิดบัญชีออมทรัพย์ร่วมกันได้ แต่บัญชีฝากประจำยังต้องเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน
  • ควรวางแผนการลงทุนเพื่อต่อยอดเงินออมที่มีอยู่ให้งอกเงยเพื่อเป็นเงินใช้จ่ายหลังเกษียณอายุ

การวางแผนเกษียณอายุ 👴🏻

  • LGBTQ+ มีโอกาสน้อยที่จะมีลูก จึงต้องดูแลตัวเองและคู่ชีวิตไปจนแก่เฒ่า ควรวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณด้วยการเก็บออมเงิน ในบัญชีธนาคาร การซื้อประกันสะสมทรัพย์หรือประกันบำนาญ

การวางแผนส่งต่อมรดก 🪦

  • คู่สมรส LGBTQ+ ควรมีการวางแผนส่งต่อมรดกให้กับคู่รัก โดยเฉพาะกับคู่ที่ไม่มีการสมรสเพราะอาจเกิดข้อพิพาทกับครอบครัว ผู้เสียชีวิตได้
  • คู่สมรส LGBTQ+ จะมีสิทธิในการจัดการทรัพย์สินหรือมรดกของอีกฝ่ายได้ตามกฎหมาย

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมจะทำให้คู่สมรส LGBTQ+ มีสิทธิในการจัดการศพและสามารถรับบำเหน็จตกทอดในฐานะคู่สมรส การวางแผนการเงินสำหรับคู่รัก LGBTQ+ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความมั่นคงในชีวิตคู่และการดูแลตัวเองในอนาคต

#iMoneyIntern
Chayanon Nontamart