เมื่อเข้าสู่วัยทำงานเต็มตัว เริ่มมีรายได้ สิ่งที่จะเข้ามาในชีวิตเราอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ “ ภาษี ”
สำหรับสิ่งที่สามารถนำมา “ ลดหย่อนภาษี “ ได้นั้น มีหลายรูปแบบ จึงจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
.
แบบไหนเหมาะกับใคร ?

– สายมั่นคง –
ต้องการผลตอบแทนที่แน่นอน
ต้องการผลประโยชน์คุ้มครองชีวิต หรือ สุขภาพ
ประกอบด้วย
1. ประกันชีวิตทั่วไป
– ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
– เน้นการคุ้มครองชีวิต สำหรับคนสำคัญในครอบครัว
2. ประกันชีวิตสะสมทรัพย์
– ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
– ต้องการผลตอบแทนที่มั่นคง
– ไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยง
3. ประกันสุขภาพ
– ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี
– เน้นค่ารักษา
– ไม่อยากรับความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย
4. ประกันชีวิตแบบบำนาญ
– ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
– ต้องการมีรายได้คงที่หลังเกษียณ
โดยที่ ข้อ 1-3 สามารถลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี

– สายรับความเสี่ยงได้ –
ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้น
สามารถรับความเสี่ยงได้
ประกอบด้วย
1. กองทุน SSF (Super Saving Fund)
– ถือ 10 ปี
– ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
– เหมาะกับคนอายุไม่เกิน 45 ปี
2. กองทุน RMF (Retirement Fund)
– ถืออย่างน้อย 5 ปี เมื่ออายุ 55 ปี
– ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
– เหมาะกับคนอายุ 45 ปีขึ้นไป
โดยกองทุนรวมสามารถลดหย่อนรวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญได้ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี

– สายผสม –
ต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้น แต่ไม่อยากรับความเสี่ยงมากเกินไป ด้วยการจัดแผนที่ผลตอบแทนคงที่รวมกับผลตอบแทนที่มีความเสี่ยงไปพร้อมกัน
อย่างไรก็ตาม เราควรประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงและเป้าหมายของเราก่อนที่จะเลือกเส้นทางการลดหย่อนภาษี
โดยรายละเอียดของแต่ละรายการลดหย่อนภาษี จะนำมาเล่าให้ฟังในโพสต์ต่อ ๆ ไป เพื่อให้ทุกคนสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นนะคะ